Popular Posts

Sunday, April 28, 2013

เปิดร้านขายข้าวหลาม


เปิดร้านขายข้าวหลาม
 
พูดก็พูดนะครับ ข้าวหลามเป็นอะไรที่กินง่ายนะครับสำหรับคนไทยเนี่ยเเถมต้นทุนไม่เเพงมากด้วยครับวันนี้จะยกตัวอย่าง การขายข้าวหลามเเปลกๆให้เเนะนำกันครับพี่น้อง
 
นางแอ๊ด ตันเสียงสม เจ้าของสูตรข้าวหลาม แม่แอ๊ด การันตีคุณภาพ ด้วยโอทอป 3 ดาว ระดับประเทศ เล่าว่า ข้าวหลาม แม่แอ๊ด เกิดมานานนับ100 ปี ตัวเองมารับช่วงต่อเป็นรุ่นที่ 3 ต่อจาก พ่อและแม่ ซึ่งเดิมคุณยายของสามี คือ นางประไพ ตันเสียงสม ทำมาก่อนถือเป็นรุ่นแรกของจังหวัดนครปฐมก็ว่าได้ ในอดีต การเดินทางลงใต้ จะต้องอาศัยทางรถไฟเป็นหลัก และนครปฐม ก็เป็นจุดที่ผู้คนจะต้องมาขึ้นรถไฟ และก็จะแวะซื้อข้าวหลามกินรองท้องก่อนเดินทาง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ข้าวหลามนครปฐมมีชื่อเสียง ประกอบกับในยุคนั้น แม่ทรัพย์ หนึ่งในแม่ค้าขายข้าวหลาม ได้มีโอกาสทำข้าวหลามทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าวหลามนครปฐมจึงได้ถูกขนานนามว่า ข้าวหลามเสวย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
          หลังจากที่ตัดถนนใหม่ สายธนบุรี ปากท่อ ทำให้เส้นทางลงใต้ไม่ผ่านตัวเมืองนครปฐม ส่งผลให้กิจการข้าวหลามซบเซา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประกอบกับมีข่าวเจอแมลงแปลกปลอมในข้าวหลาม เมื่อหลายปีก่อน ยิ่งทำให้ข้าวหลามนครปฐมซบเซาไปมาก ที่เลิกกิจการกันไปหลายสิบราย โดยเฉพาะข้าวหลามหน้าวัดพระงาม จนท่านเจ้าอาวาส วัดพระงาม เกรงว่า อาชีพเผาข้าวหลาม หน้าวัดพระงาม ที่มีนานนับร้อยปีจะหายไป จึงได้ปรึกษาทาง “ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น คือ “นาย ประสาท พงษ์ศิวาภัย” ว่าจะทำอย่างให้ อาชีพเผาข้าวหลาม ที่ทำกันว่า กว่า 100 ปี ยังเป็นอาชีพที่ยั่งยืนอยู่คู่วัดพระงามต่อไป


นางแอ๊ด ตันเสียงสม
ทั้งนี้ ปัจจุบันเหลือ ข้าวหลามสูตรดั้งเดิมที่มีชื่อเสียงอยู่ไม่เกิน 5-6 ราย ซึ่งในช่วงนั้น ทางผู้ว่า ฯ ได้หาทางออกด้วยการให้ผู้ผลิตทุกคนควบคุมคุณภาพ โดยตั้งเป็นชมรม ข้าวหลามนครปฐม ปัจจุบันมีผู้ผลิตข้าวหลาม ทั่วจังหวัดมาเข้าชมรม มากกว่า 10 ราย ทำให้ สามารถควบคุมคุณภาพได้ และหาช่องทางการขายอื่นๆ เพิ่มเติม จากการขายในพื้นที่ ค่อยขยับไปขายตามที่ต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของข้าวหลามแม่แอ๊ด เอง ปัจจุบันไม่ได้มีรายได้มาจากการขายหน้าร้าน อย่างเดียว แต่อาศัยการออกงานโอทอป ตามที่ต่างๆ ไปด้วย บางครั้งการออกงานแสดงสินค้ากลับมีรายได้มากกว่า ขายอยู่หน้าร้าน
 
     อย่างไรก็ตาม การทำข้าวหลามรูปแบบดั้งเดิม เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้หันมาสนใจข้าวหลามได้ จึงได้คิดสูตรข้าวหลามใหม่ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ข้าวหลามบะจ่าง ข้าวหลามกระเพรากุ้ง ข้าวหลามเขียวหวาน ข้าวหลามไส้สังขยา ข้าวหลามแปะก๋วย ข้าวหลามอัญชัน ข้าวหลามเผือก ข้าวหลามลำไย และล่าสุดได้ทำข้าวหลามปลาร้า หรือ ในช่วงไหนมีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามากเราก็จะทดลองนำมาทำข้าวหลาม เช่น ลำไย ทุเรียน
ข้าวหลามทุเรียน อัญชัน และสังขยา
นอกจากนี้ ในส่วนของข้าวหลามสูตรปลาร้า จุดเริ่มต้นมาจากเห็นว่า ปลาร้ากินคู่กับข้าวเหนียว และข้าวหลามเราใช้ข้าวเหนียวน่าจะนำมาทำข้าวหลามได้ ซึ่งวิธีการทำ ใช้ปลาช่อนแดดเดียวสุก ผสมลงไปในปลาร้าด้วย และใส่หอมแดง ใบมะกรูด ใส่ลงไปในกระบอกพร้อมข้าวเหนียว และนำไปเผา เช่นเดียวกับ การเผาข้าวหลาม ซึ่งสูตรข้าวหลามปลาร้า ทำขึ้นมาเพื่อต้องการ ส่งเข้าประกวดคัดสรรโอทอป ปีนี้
     สำหรับผู้ที่ต้องการกินข้าวหลาม สูตรแปลกทางร้านจะทำขายเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ วันหนึ่ง 40-50 กระบอกเท่านั้น แต่หลักขายข้าวหลามสูตรดั้งเดิม โดยยอดขายต่อวันอยู่ที่ 200 – 300 กระบอก ทางร้านจะเผาขายหน้าร้าน ทำให้ลูกค้าได้กินข้าวหลามที่สุกใหม่ ถือว่าเป็นจุดขายของทางร้าน ก็ว่าได้ โดยเริ่มขายตั้งแต่ 6 โมงเช้า หมดก่อนเที่ยง และเริ่มขายอีกรอบตอนเย็น ขายไปจนถึงประมาณ 2 ทุ่ม
“จุดหนึ่งที่ข้าวหลามของเรายังไม่ได้ระดับ 5 ดาว เพราะข้าวหลามเป็นอาหารที่ต้องทำกินวันต่อวัน ไม่สามารถยืดอายุได้ ถึงยืดได้แต่เราก็รู้สึกว่ามันไม่อร่อยเหมือนออกจากเตา เราจึงไม่คิดจะยืดอายุมัน และในส่วนของบรรจุภัณฑ์ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้าวหลามของเราไม่ได้ 5 ดาว เพราะเราไม่สามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะข้าวหลามยังไงมันต้องอยู่ในกระบอกไม้ไผ่มันถึงจะอร่อย และเรียกว่า ข้าวหลาม ตรงจุดนี้ เป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่ผ่านการคัดสรรได้ 5 ดาว”
แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ คือ การนำสติกเกอร์มาติด เพื่อบอกถึงที่มาของข้าวหลามทุกกระบอก เป็นการการันตีถึงคุณภาพ ซึ่งถ้าลูกค้าต้องการแบบติดสติกเกอร์จะต้องโทรสั่งล่วงหน้า เพราะถ้าขายหน้าร้านจะไม่มีสติกเกอร์ ส่วนใหญ่ลูกค้าต้องการสติกเกอร์กรณีที่ซื้อไปเป็นของฝากผู้ใหญ่ ก็จะต้องการกระบอกไม้ไผ่สวย และติดสติกเกอร์ เราก็คัดเลือกและทำเอาไว้ให้ ในราคาปกติที่ไม่ได้บวกเพิ่มแต่อย่างใด

No comments:

Post a Comment